วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน
การใช้งานทางด้านธุรกิจทั่วไป งานทำบัญชี รายการซื้อขาย งานเรียบเรียงเอกสาร งานประมวลคำ
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพานิชอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณและการจำลองแบบ

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอ์

ความเป็นอัตโนมัติ(Self Acting)
ความเร็ว(Speed)
ความถูกต้องแม่นยำ(Accuracy)
ความน่าเชื่อถือ(Reliability)
การจัดเก็บข้อมูล(Storage Capability)
ทำงานซ้ำๆได้อย่างอัติโนมัติ
(Repeatability)
การติดต่อสื่อสาร(Communication)

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดยจอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ
ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล] พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบการแข่งขันฟุตบอล5คน

ระเบียบการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 5 คน (ฟุตซอล) นักเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550
…………………………

เพื่อให้การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 5 คน (ฟุตซอล) ในการแข่งขันกีฬานักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2550 ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษา สำนักการศึกษา จึงออกระเบียบการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 5 คน( ฟุตซอล)ไว้ ดังนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักการศึกษา ว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอล 5 คน (ฟุตซอล) ของกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 ”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 5 คน (ฟุตซอล) จำนวน 4 รุ่น คือ
1. รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ชาย/หญิง (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2540)
2. รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ชาย/หญิง (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2538)
3. รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ชาย/หญิง (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2536)
4. รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ชาย/หญิง (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2534)
ข้อ 4 คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน
4.1. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ไม่น้อยกว่า 60 วัน
(นับถึงวันสมัคร)
4.2. อายุไม่มากกว่าในระดับอายุที่กำหนด (ตามข้อ 3 ) โดยยึดปี พ.ศ. เป็นเกณฑ์

ข้อ 5 การสมัครเข้าแข่งขัน
ทีมหนึ่ง ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 12 คน และ
เจ้าหน้าที่ทีมไม่เกิน 3 คน
ข้อ 6 หลักฐานประกอบการสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
6.1 ใบสมัครและแผงติดรูปถ่ายตามที่สำนักการศึกษากำหนด
6.1.1 รูปถ่ายของนักกีฬา จำนวนไม่เกิน 12 คน, ผู้ฝึกสอน หรือผู้ควบคุมทีม จำนวน
คนละ 1รูป ติดลงในแผงรูปให้เรียบร้อย พร้อมลายเซ็นในแผงรูปนักกีฬา โดยใส่รายละเอียดของนักกีฬาในแผงรูปให้เรียบร้อย ครบถ้วน ต้องประทับตราโรงเรียน/สำนักงานเขต พร้อมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ลงนามรับรอง
6.1.2 ใบสมัครเข้าแข่งขัน ไม่ต้องติดรูปถ่าย โดยรายละเอียดของนักเรียนที่เข้าแข่งขัน
ให้ครบถ้วน พร้อมการรับรองของผู้ปกครอง, และการรับรองของผู้บริหารให้ครบถ้วน
6.1.3 ใบรับรองของโรงเรียน ให้รับรองการศึกษาโดยระบุ ชื่อ – สกุล วันเดือนปีเกิด
เลขประจำตัวนักเรียน โดยครูประจำชั้น, ผู้บริหารโรงเรียนลงนามรับรอง และประทับตราโรงเรียนในใบรับรอง

6.2 สำเนาทะเบียนบ้าน ที่ผู้บริหารโรงเรียนนั้นเป็นผู้รับรองสำเนา
ข้อ 7 วิธีสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
7.1 การแข่งขันในระดับระดับสำนักงานเขตให้ดำเนินการกันตามระเบียบการแข่งขันของสำนัก
การศึกษาเป็นเกณฑ์โดยอนุโลม และตามข้อตกลงของคณะกรรมการระดับกลุ่มเขตเพิ่มเติม โดยสมัครเข้าแข่งขันในนามทีมโรงเรียน ตามความพร้อมของโรงเรียน ตามความสมัครใจ ส่งใบสมัครตามวันและเวลาที่กำหนด ที่สำนักงานเขตที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน การจัดการแข่งขันในระดับสำนักงานเขต เพื่อหาตัวแทนสำนักงานเขต
7.2 การแข่งขันในระดับกลุ่มเขต(โซน) จำนวน 12 กลุ่มเขต(โซน) การจัดกลุ่มเขต)โซน)ให้ยึด
ตามข้อบังคับสำนักการศึกษาว่าด้วยการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนกรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2548เป็นหลัก ให้สมัครเข้าแข่งขันในนามทีมสำนักงานเขต โดยสมัครกับสำนักงานเขตที่เป็นเจ้าภาพกลุ่มเขต(โซน) กำหนดหลักฐานการสมัครให้เป็นไปตามระเบียบใน ข้อ 6 ทำการแข่งขันจนได้ทีมชนะเลิศ ให้ทีมชนะเลิศทั้งชายและหญิงในแต่ละรุ่น จำนวน 1 ทีม เป็นตัวแทนกลุ่มเขต จำนวน 12 โซน เข้าแข่งในระดับกรุงเทพมหานคร
7.3 การแข่งขันในระดับกรุงเทพมหานคร ให้ทีมโรงเรียนที่ชนะเลิศในระดับกลุ่มเขต(โซน)เป็น
ตัวแทนในนามทีมตัวแทนกลุ่มเขต(โซน) กลุ่มเขตละ 1 ทีม จำนวน 4 รุ่น ชาย และหญิง เข้าแข่งขันในระดับกรุงเทพมหานคร ณ. สนามกีฬาประชานิเวศน์ เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร
ข้อ8 การแข่งขันในระดับกรุงเทพมหานคร
8.1 ให้ทีมที่ชนะเลิศที่ 1 เป็นตัวแทนกลุ่มเขต (โซน) จัดส่งหลักฐานการสมัคร หลักฐาน
นักกีฬา (ตามที่ระบุไว้ในข้อ6) โดยตรงที่กองลูกเสือ-ยุวกาชาด สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามกำหนดที่แจ้งให้ทราบต่อไป
8.2 ทีมใดที่ยื่นใบสมัคร และหลักฐานการแข่งขันแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม
รายชื่อนักกีฬาได้ก่อนการแข่งขันวันแรกของทีมในตารางการแข่งขัน หลังจากนั้นห้ามมิให้ทีมขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมรายชื่อนักกีฬาอีก ไม่ว่ากรณีใด
8.3 การตรวจสอบหลักฐานของนักกีฬา ดำเนินการ ดังนี้
8.3.1 ให้มีการตรวจสอบความเรียบร้อยของหลักฐานนักกีฬาที่สมัครเข้าร่วมการ
แข่งขันก่อน ในเรื่องของรูปถ่าย , ชื่อสกุล-วันเดือนปีเกิด, มีหลักฐานประกอบใบสมัคร อย่างเรียบร้อย โดยมีการลงนามรับรองของผู้บริหารโรงเรียนอย่างครบถ้วน
8.3.2 ให้สิทธิให้เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันตรวจสอบหลักฐานของนักกีฬา หาก
ณ.วันที่เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันมีการตรวจสอบหลักฐานนักกีฬา พบว่านักกีฬาคนใดมีหลักฐานไม่ถูกต้อง ครบถ้วน หรือ คุณสมบัติไม่ถูกต้องให้ตัดสิทธิ์นักกีฬาผู้นั้น ออกจากทีม และถ้าหากนักกีฬาทีมโรงเรียนใดถูกตัดสิทธิ์จนเหลือนักกีฬาในทีมน้อยกว่า 5 คน ทีมโรงเรียนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน โดยทีมนั้นไม่มีสิทธิ์แก้ไข เพิ่มเติมหลักฐานใดใดอีก และจะเรียกร้องสิทธิใดใดอีกไม่ได้

8.3.3 ภายหลังการแข่งขัน ถ้าปรากฏว่า หลักฐานของนักกีฬา ทีมใดที่ชื่อ – สกุล
หรือวัน เดือน ปี เกิด ของนักกีฬา ไม่ตรงกับความเป็นจริง กับใบสมัครเข้าร่วมแข่งขัน คุณสมบัติไม่เป็นไปตามกำหนด ( ข้อ 4 ) โดยการประท้วงของคู่แข่งขัน ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ ตัดสิทธิทีมนั้นออกจากการแข่งขัน และให้พิจารณาลงโทษนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้รับมอบอำนาจที่ลงนามในใบสมัคร โดยอ้างว่าไม่รู้ข้อเท็จจริง หรือไม่ทราบระเบียบ ข้อบังคับของการจัดการแข่งขันไม่ได้
ข้อ 9 กติกาการแข่งขัน
(1) ให้ใช้กติกาการแข่งขันฟุตซอลของสหพันธ์ฟุตซอลนานาชาติ (FIFA) ซึ่งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ประกาศใช้แล้ว โดยมิได้ขัดกับระเบียบสำนักการศึกษา ว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอล 5คน (ฟุตซอล) ในการแข่งขันกีฬานักเรียนของกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550
(2) นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ควบคุมทีม ที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ต้องยอมรับคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินโดยเด็ดขาด จะอุทธรณ์ใด ๆ มิได้
ข้อ 10 การจัดการแข่งขัน
กำหนดระยะเวลาการแข่งขัน กำหนด ดังนี้
10.1รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง เท่า ๆ กัน แข่งขันครึ่งละ 10 นาที
พักระหว่างครึ่งเวลาไม่เกิน 5 นาที
10.2 รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง เท่า ๆ กัน แข่งขันครึ่งละ 10 นาที
พักระหว่างครึ่งเวลาไม่เกิน 5 นาที
10.2 รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี และ 16 ปี แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง เท่าๆ กัน แข่งขันครึ่งละ
12นาทีพักระหว่างครึ่งเวลาไม่เกิน 5 นาที
(1) การแข่งขัน(ระดับกรุงเทพมหานคร)ในรอบแรก แบ่งออกเป็น 4 สาย สายละ 3 ทีม
แข่งแบบแพ้คัดออก(น๊อคเอาท์) คัดเอาทีมยืนที่ชนะในสายจำนวน 1 ทีม เข้ารอบรองชนะเลิศ
(3) การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ ทีมยืนของสาย ก. พบกับทีมยืนของสาย ข. และทีมทีมยืนของสาย ค. พบกับทีมยืนของสาย ง.
(4) ทีมที่ชนะในรอบรองชนะเลิศไปชิงชนะเลิศ และทีมที่แพ้ในรองรองชนะเลิศทั้ง 2 ทีม ได้อันดับที่ 3 ( ไม่มีการชิงอันดับที่ 3 )
ข้อ 11 ผลการแข่งขัน และการให้คะแนน
(1) การแข่งขันในรอบแรก ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นทีมที่ชนะทีมที่ไม่มาแข่งขันหรือทีมที่มาแข่งขันล่าช้า(ข้อ12.2)ให้มีสภาพเป็นฝ่ายแพ้ คู่แข่งขันเป็นฝ่ายชนะ กรณีที่ประตูได้เท่ากันเมื่อหมดเวลา ให้หาผู้ชนะโดยการเตะโทษ ณ จุดเตะโทษโดยไม่มีการต่อเวลาพิเศษ
(2) การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ หลังจากหมดเวลาการแข่งขันของครึ่งเวลาหลังแล้ว ปรากฏว่าผลเสมอกัน ให้หาผู้ชนะโดยการเตะโทษ ณ จุดเตะโทษโดยไม่มีการต่อเวลาพิเศษ
ข้อ 12 ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน
12.1 ให้ผู้ควบคุมทีมนำนักกีฬาไปทำการแข่งขันตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ก่อนการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 15 นาที และทำการส่งรายชื่อ และหมายเลขผู้เล่นที่จะลงทำการแข่งขัน และผู้เล่นสำรอง ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
12.2 ทีมใดที่มาทำการแข่งขันช้ากว่าเวลาที่กำหนด หรือทีมใดที่มีนักกีฬาน้อยกว่า 5 คนคณะกรรมการจะให้เวลาแก่ทีมอีก 10 นาที หากเกินกว่าเวลานี้แล้ว ทีมนั้นยังไม่พร้อมหรือยังไม่ปรากฏในสนามแข่งขัน ทีมนั้นจะถูกปรับให้เป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น
12.3 ทีมที่มาแข่งขันล่าช้า จะเรียกร้องขอเวลาเพื่ออบอุ่นร่างกายนักกีฬาจากคณะกรรมการมิได้เมื่อถึงกำหนดเวลาการแข่งขันแล้ว ให้คณะกรรมการผู้ตัดสิน ดำเนินการแข่งขันได้เลย
12.4 นักกีฬาที่ถูกคาดโทษ(ใบเหลือง) 2 ครั้ง ไม่มีสิทธิลงทำการแข่งขันในนัดถัดไป1ครั้ง
12.5 นักกีฬาที่ถูกไล่ออก(ใบแดง) 1 ครั้ง ไม่มีสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในนัดถัดไป 1 ครั้ง และกีฬาที่ถูกใบแดง 2 ครั้ง จะถูกตัดสิทธิให้ออกจากการแข่งขันประจำปีนั้น
12.6 ในระหว่างการแข่งขัน ทีมใดที่ผู้เล่นต้องออกจากสนามแข่งขันจนเหลือผู้เล่นน้อยกว่า 2 คน ( ในสนาม ) ทีมนั้นจะถูกปรับให้เป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น
12.7 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดจำนวนในขณะที่ทำการแข่งขันกำลังดำเนินการอยู่ (ยกเว้นผู้รักษาประตู ต้องเปลี่ยนขณะที่ลูกบอลอยู่นอกการเล่น) โดยผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกมาแล้วสามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีก
12.8 อุปกรณ์ผู้เล่นประกอบด้วยเสื้อยืด กางเกงขาสั้น (ยกเว้นผู้รักษาประตูอาจใส่เสื้อแขน
ยาวและกางเกงขายาวได้) ถุงเท้ายาว รองเท้าพื้นเรียบไม่มีปุ่ม
12.9 ชุดแข่งขันของผู้เล่นต้องมีสี และหมายเลขให้เรียบร้อย มองเห็นได้ชัดเจน ผู้รักษาประตูต้องมีสีชุดแข่งขันแตกต่างจากผู้เล่นอื่น ผู้เล่นที่ใส่เสื้อหมายเลขใด จะเปลี่ยนเลขไม่ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน(ผู้เล่นที่เปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตู ต้องใช้หมายเลขเดิมของผู้เล่นนั้นๆ ด้วย)
12.10 ทีมที่มีเจตนาที่จะไม่ลงทำการแข่งขัน หรือเจตนาผละออกจากการแข่งขัน จากการแข่งขันที่กำลังดำเนินการอยู่ ให้ถือว่าทีมนั้นผิดมารยาทอย่างร้ายแรง ให้ตัดสิทธิทีมนั้นออกจากการแข่งขัน
12.11 ทีมใดก่อเหตุวุ่นวาย มีเรื่องชกต่อย ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬา หรือกองเชียร์ หรือเจ้าหน้าที่
ทีมคณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะรายงานเกี่ยวกับความประพฤติให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และพิจารณาดำเนินการตามที่เหมาะสมต่อไป
12.12 ให้มีเจ้าหน้าที่ทีม ลงไปในสนามแข่งขันไม่เกิน 3 คน โดยห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ทีมเดินสอนนักกีฬารอบๆสนาม ที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการผู้ตัดสิน และห้ามมิให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับทีมลงสนามการแข่งขันโดยเด็ดขาด
ข้อ 13 การประท้วง
13.1 ทีมที่จะประท้วงเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักกีฬา ให้บุคคลที่ลงนามในใบสมัคร หรือผู้รับมอบอำนาจ ลงนามในใบประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีข้อความชัดเจน และสมบูรณ์ และมีหลักฐานการประท้วงประกอบให้เรียบร้อย ยื่นแก่ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน พร้อมเงินประกันการประท้วงครั้งละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) หากการประท้วงไม่เป็นจริง ให้ริบเงินประกันเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
13.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้รับคำประท้วงแล้ว จะดำเนินการประชุมพิจารณาการประท้วงทันที ภายใน 24 ชั่วโมง ทีมที่ถูกประท้วงต้องมาชี้แจงข้อกล่าวหาในการประท้วง หากทีมสละสิทธิ ไม่ขอแก้ข้อประท้วง และยอมรับคำประท้วงนั้นว่าเป็นจริง ทีมนั้นจะถูกตัดสิทธิออกจากการแข่งขัน และคณะกรรมการจะทำรายงานต่อผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการลงโทษที่เหมาะสมต่อไป
13.3 การประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา ให้ดำเนินการประท้วงได้ในรอบแรก และ
รอบรองชนะเลิศเท่านั้น เมื่อทีมเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแล้ว จะทำการประท้วงมิได้
13.4 ระหว่างที่มีการประท้วงคุณสมบัตินักกีฬา ให้การแข่งขันดำเนินการไปตามกำหนดเวลาของการแข่งขันที่วางไว้โดยมิให้หยุดชะงัก จนกว่าเวลาการแข่งขันจะสิ้นสุด
13.5 คำตัดสินของคณะกรรมการการจัดการแข่งขันให้ถือเป็นเด็ดขาด จะอุทธรณ์ใด ๆ มิได้
ข้อ 14 บทลงโทษ
14.1ทีมที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักการศึกษาว่าด้วย
การแข่งขันฟุตบอล 5 คน (ฟุตซอล) ของการแข่งขันกีฬานักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 โดยเคร่งครัด ตั้งแต่การแข่งขันในระดับกลุ่มเขตเขตเป็นต้นไป หากทีมใดกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบฯ ดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถดำเนินการเพื่อความยุติธรรมได้ และสามารถดำเนินการรายงานผู้บังคับบัญชาลงโทษตามเหมาะสมเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างได้
14.2 ทีมที่เข้าแข่งขัน จะต้องควบคุมมารยาทของเจ้าหน้าที่ทีมอย่างเคร่งครัด หากเจ้าหน้าที่ทีมคนใด กล่าว หรือแสดงกิริยาที่ดูถูก ด่าทอ ก้าวร้าวโดยมิสมควร ต่อคณะกรรการผู้ตัดสิน หรือ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะทำการตักเตือน หากไม่เคารพระเบียบการแข่งขัน คณะกรรมการฯ จะทำการบันทึกพฤติกรรม และทำรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และทีมนั้นจะถูกลงทางวินัยตามสมควรและถูกโทษห้ามเข้าแข่งขันในปีต่อไป มีระยะเวลา 1 ปี
14.3 หากปรากฏว่า ทีมถูกประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา จนไม่มีทีมที่จะทำการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศในรอบใดรอบหนึ่งได้ ทีมที่มีคุณสมบัติพร้อม อาจได้รับตำแหน่งและเหรียญรางวัลโดยมิต้องทำการแข่งขันเลยก็ได้
ข้อ 15 รางวัลในการแข่งขัน
15.1สำนักการศึกษา จะมอบเหรียญรางวัลกะไหล่ทอง, กะไหล่เงิน และกะไหล่ทองแดง
พร้อมทั้งเกียรติบัตร แก่ทีมที่ชนะเลิศอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ของแต่ละรุ่นอายุ
15.2 นักกีฬาที่มีความสามารถ และทักษะในการเล่นยอดเยี่ยมในแต่ละรุ่น จะได้พิจารณาให้เป็นนักกีฬายอดเยี่ยม จะได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติตามระเบียบสำนักการศึกษากำหนด
ข้อ 16 สำนักการศึกษา และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะไม่รับผิดชอบความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทีมที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ผู้ควบคุมทีม ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา จะร้องทุกข์ หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมิได้
ข้อ 17 หากมีกรณีใด นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบการแข่งขันนี้ ให้ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามความเหมาะสม คำวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเป็นที่ยุติ จะอุทธรณ์ใดๆ มิได้
ข้อ 18 ให้ผู้อำนวยการกองพัฒนาข้าราชการสำนักการศึกษา เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้




อุปกรณ์การแข่งขันที่ขอเบิก
1. ลูกฟุตซอล จำนวน 2 โหล (ให้ทีมที่ชนะ ที่ 1,2 และ3 และใช้ในการจัดการแข่งขันด้วย)
2. เสื้อสำรอง(เอี้ยม) 2 ชุด ที่มีหมายเลข(เบอร์) พร้อม ใช้กรณีทีมมาแข่งขันมีสีเสื้อเหมือนกัน
3. ป้ายแสดงทีมที่ยิงประตูได้ 1 ชุด
4. แลกซีนทำสนาม สีขาว หรือสีเหลือง ขนาดกว้า 5 ซ.ม.จำนวน 60 ม้วน สำหรับทำเส้นสนาม
5. ขอสนับสนุนค่าอาหารว่างเจ้าหน้าที่ ผู้ตัดสิน แขกผู้มีเกียรติ์ ค่าเจ้าหน้าที่สนาม ค่าทำเอกสาร เช่นใบส่งตัว ใบเปลี่ยนตัวผู้เล่น ใบบันทึกผลการแข่งขันฯลฯ
หมายเหตุ
2. ฝ่ายจัดการแข่งขัน จะนำเครื่องเสียง และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นมาเอง
3. ฝ่ายจัดการแข่งขันจะนำคอมพิวเตอร์มาจัดทำเกียรติบัตรให้แก่นักกีฬา ที่ชนะที่ 1, 2 ,3 เอง โดย
ขอสำเนาเกียรติบัตร(แบบว่าง) จากสำนักการศึกษา

การแข่งขันฟุตบอล5คนในประเทศไทย

การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศ ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ “ ทีมกรุงเทพมหานคร” ชนะแชมป์เก่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2543 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมสโมสรชั้นนำจากไทยลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งจากความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวทำให้ประเทศไทยได้อันดับสามและได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2543 ณ ประเทศกัวเตมาลา ในปัจจุบันฟุตซอล ( FUTSAL ) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจจากทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเกมกีฬาที่ตื่นเต้น สนุกสนานในทุกๆ นาทีของการแข่งขัน และสามารถเล่นได้ตลอดปี ทุกสภาพอากาศทำให้ ฟุตซอล (FUTSAL ) กลายเป็นกีฬายอดนิยมรับสหัสวรรษใหม่นี้